ความเครียดจากการเรียนออนไลน์

"เมื่อโรคเปลี่ยนโลก วิธีการเรียนจึงต้องเปลี่ยนแปลง"

                         จากสถานการณ์ Covid-19  ทำให้วิถีชีวิตคนในสังคมต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะนักเรียนักศึกษา ที่ต้องเรียนออนไลน์ อย่างอย่างไม่ทันตั้งตัวและเตรียมใจ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยนำรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์มาใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  (Distance Learning Television หรือ DLTV) เพื่อให้นักเรียนยังสามารถเรียนตามหลักสูตรที่วางไว้ได้จากที่บ้าน ซึ่งผู้ปกครองหลายคนมองว่า การเรียนการสอนรูปแบบนี้ นอกจากลูกหลานจะมีความปลอดภัยในภาวะโรคระบาดแล้ว ยังทำให้ผู้ปกครองได้ใกล้ชิดกับเด็กมากขึ้น
                    
                 แม้การเรียนการสอนออนไลน์จะปลอดภัยจากโรคโควิด-19 เพราะทุกคนไม่ต้องไปรวมตัวกันที่ แต่ก็ต้องยอมรับว่า เราไม่ได้ถูกเตรียมความพร้อมมาสำหรับการเเรียนรูปแบบใหม่นี้ล่วงหน้า ระบบการศึกษาของไทยไม่ได้ถูกวางแผนเพื่อการ   เรียนในรูปแบบเช่นนี้ อันจะนำไปสู่ ปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมา โดยเฉพาะเรื่องของอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือแท็บเล็ต ซึ่งไม่ใช่ผู้เรียนทุกคนจะมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ที่บ้าน และไม่ใช่ผู้ปกครองทุกคนที่มีกำลังทรัพย์เพียงพอในการจัดการอุปกรณ์เหล่านี้ ขณะที่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบ wifi ในประเทศไทยก็ไม่ได้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ เราจึงเห็นภาพการเรียน ในห้องแอร์เย็นๆ ไปจนถึงนั่งเรียนที่บ้านที่อยู่ริมถนนมีรถวิ่งเสียงดัง แม้กระทั้งนั่งเรียนดดยใช้อินเตอร์ที่ศาสาประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียก อย่างมากมาย จากสิ่งที่ต้องเรียนรู้ที่ไม่อาจถามได้จากครูหรือผู้สอนโดยตรง สิ่งรบกวนสมาธิ และสิ่งเร้าที่จะพาเด็กเหล่านั้นไปนอกบทเรียนตลอดเวลา ความไม่เสถียรของระบบความไไม่พร้อมของเครื่องมือ 
                แล้วเราจะทำอย่างไร