ระบบยืนยันตัวบุคคล
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


Statistics Statistics
57212
Online User Online1
Today Today26
Yesterday Yesterday62
ThisMonth This Month373
LastMonth Last Month521
ThisYear This Year1,898
LastYear Last Year7,423

 

 

วิชา ระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์


เอกสารฉบับ PDF:

เอกสารแนวการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์

เอกสารประกอบการสอน


 

 

แนวการสอน (Course Syllabus) 

วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

(Research Methodology in Science)

โปรแกรมการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

1.ข้อมูลทั่วไป

          รหัสวิชา 2504901

           ชื่อวิชาภาษาไทย        

                   ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

           ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ     

                   Research Methodology in Science

           จำนวนหน่วยกิต         

                   3 หน่วยกิต 3 (2-2-5)

           อาจารย์ผู้สอน

                   อาจารย์พีรพัฒน์ พันศิริ

 

2.คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหัวข้อปัญหาในการวิจัย  การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลที่ได้จากการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย  การเขียนเอกสารอ้างอิง การเขียนบทคัดย่องานวิจัย การจัดทำรูปเล่มรายงานวิจัย และจรรยาบรรณของนักวิจัย

 

3.จุดประสงค์การเรียนรู้

          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเห็นความสำคัญของระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ และสามารถปฏิบัติและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงาน ตลอดจนในชีวิตประจำวันได้  โดยเพิ่มเนื้อหาและตัวอย่างให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับสาขาวิชาของผู้เรียน

 

4.แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน/การสอน/สื่อที่ใช้ ชิ้นงาน/วิธีการประเมิน

 

1-2

     แนะนำรายวิชา  แนวการจัดการเรียนการสอน  และหนังสือประกอบ

บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

     กระบวนทัศน์สำหรับการแสวงหาความรู้ความจริง  วิธีการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงปริมาณ  วิธีการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงคุณภาพ  ลักษณะและขอบเขตของการวิจัยทางสังคมศาสตร์  ความหมาย ประเภท และกระบวนการของการวิจัยทางสังคมศาสตร์  ประโยชน์ของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ขั้นตอนการวิจัยทางสังคมศาสตร์

8

-  แจกแนวการสอน

-  แจกหนังสือ

-  บรรยาย 

-  แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน

-  มอบหมายงานให้นักศึกษาไปหารายงานการวิจัยเชิงปริมาณมาคนละ 1 เรื่อง

 

3

บทที่ 2 ประเภทและรูปแบบของการวิจัย

     หลักในการจำแนกประเภทของงานวิจัย     การพิจารณาประเภทของการวิจัย จากเกณฑ์หรือเหตุผลของการวิจัย จากคุณลักษณะของข้อมูล จากระเบียบวิธีวิจัย

 

-  บรรยาย 

-  มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปงานวิจัยที่ไปหามาตามประเด็นการเขียนเค้าโครงการวิจัย สรุปส่งในสัปดาห์ต่อไป

 

4

บทที่ 3 ปัญหาและสมมติฐานในการวิจัย

     การเลือกและการกำหนดปัญหาในการวิจัย ธรรมชาติของปัญหาการวิจัย  ที่มาของหัวข้อปัญหาการวิจัย  การกำหนดหัวข้อปัญหาการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนจุดมุ่งหมายของการวิจัย การเขียนคำถามการวิจัย การเขียนสมมติฐานการวิจัย  ข้อบกพร่องของการกำหนดปัญหาการวิจัย  การตั้งชื่อเรื่องในการวิจัย  การเขียนวัตถุประสงค์ในการวิจัย

     สมมติฐานในการวิจัย ลักษณะของสมมติฐานที่ในการวิจัย ประโยชน์ของสมมติฐาน หลักในการเขียนสมมติฐานการในการวิจัย รูปแบบการเขียนสมมติฐานในการวิจัย

 

-  บรรยาย 

 

 

5

บทที่ 4 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     จุดมุ่งหมายของการสืบค้นและศึกษาทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

     ประโยชน์ของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย แหล่งข้อมูลสารสนเทศปฐมภูมิ แหล่งข้อมูลสารสนเทศทุติยภูมิ การกำหนดประเด็นในการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การรวบรวมเอกสารเพื่อใช้ในการวิจัย 

 

-บรรยาย

-  มอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษาสรุปงานวิจัยทุกเล่มภายในกลุ่มที่นักศึกษาหามาตามแบบเครื่องมือสำรวจงานวิจัย

 - นำเสนอเป็น PowerPoint ตามประเด็นในแบบสำรวจงานวิจัย(ตารางExcel)

 

 

6

บทที่ 5 ประชากร กลุ่มตัวอย่างและตัวแปรในการวิจัย

     ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในการวิจัย  ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  การเลือกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น   การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ตัวแปรในการวิจัย ประเภทของตัวแปร ความผิดพลาดในการกำหนดตัวแปร การวัดตัวแปรในการวิจัย

 

กิจกรรม

    เตรียมตัวก่อนเรียน

   -มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลก่อนเข้าเรียน ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหัวข้อ เช่น ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร คืออะไร มีความสำคัญอย่าง

     ใบงานหลังเรียน

     -ให้นักศึกษาศึกษาตัวอย่างการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง(จากงานวิจัยที่หามา) ตามเทคนิคการเปิดตารางของ มอร์แกน และเพียร์เจ

      -ให้นักศึกษาศึกษาตัวแปรต้น-ตัวแปร และจัดทำกรอบแนวคิดตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ตามงานวิจัยที่ค้นหามา

 - PowerPoint

7-8

บทที่ 6 การออกแบบงานวิจัยและการเขียนเค้าโครง/โครงร่างในการวิจัย

     การออกแบบการวิจัย ความจำเป็นในการออกแบบการวิจัย หลักเกณฑ์การออกแบบการวิจัย องค์ประกอบในการออกแบบการวิจัย การกำหนดรูปแบบการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัย การระบุเครื่องมือการวิจัย การระบุสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

     การเขียนเค้าโครง/โครงร่างในการวิจัย ความหมาย ความสำคัญการเขียนเค้าโครง/โครงร่างในการวิจัย องค์ประกอบของเค้าโครง/โครงร่างในการวิจัย

 

-บรรยาย

-นำเสนองาน ฝึกปฏิบัติการเขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อนำเสนองานวิจัย

 

9

สอบกลางภาค

ไม่มีสอบกลางภาค (เนื่องจากเป็นวิชาบรรยายและฝึกปฏิบัติ จึงใช้การเก็บคะแนนจากแบบฝึกหัด/การทดสอบ และการเขียนเค้าโครงการวิจัยแทนการสอบกลางภาค)

10

บทที่ 7 เครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย

     เครื่องมือในการวิจัย ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการวิจัย สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ลักษณะของเครื่องมือของการวิจัยที่ดี การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ความตรง(Validity) ประเภทของความตรง ความเที่ยง(Reliability) การประมาค่าความเที่ยงของแบบทดสอ ขั้นตอนการประมาณค่าความเที่ยง การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย

 

-บรรยาย

-ฝึกปฏิบัติออกแบบเครื่องมือในการวิจัย

 

11-12

บทที่ 8 สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

     ความหมาย ความสำคัญ  การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ รายละเอียดของสถิติบรรยาย/ สรุป รายละเอียดของสถิติ สรุป อ้างอิง

 

-บรรยาย

-ฝึกปฏิบัตินำเครื่องมือที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามเค้าโครง/ประเด็นที่ตนเองสนใจศึกษา

 

13-14

บทที่ 9 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย

     ประเภทของข้อมูลในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล

 

-บรรยาย

-ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์

15

บทที่ 10 การเขียนรายงานในการวิจัย

     ความหมายและวัตถุประสงค์ของรายงานการวิจัย  ส่วนประกอบที่สำคัญของรายงานการวิจัย  การวางแผนการเขียนรายงานการวิจัย  แนวทางการเขียนเนื้อเรื่องรายงานผลการวิจัย  ลักษณะของรายงานการวิจัยที่ดี

 

- บรรยาย

- ฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานการวิจัย

การอ้างอิงเอกสารผลงานวิชาการในงานวิจัย

16

บทที่ 11 แนวทางการนำเสนอผลงานวิจัย

     ความสำคัญของการนำเสนอผลงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ  เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ

 

-บรรยาย

-ฝึกปฏิบัตินำเสนอผลงานวิจัย

17

บทที่ 12 จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยทางสังคมศาสตร์

      ความสำคัญของจริยธรรมและจรรยาบรรณ  จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย

 

-บรรยายสนทนา/จัดกลุ่มภายในห้องวิเคราะห์/วิพากย์จริยธรรมและจรรยาบรรณ และ/หรือข้อควรปฏิบัติของนักวิจัย

18

สอบปลายภาค

 

 

5.การวัดการประเมินผล

การประเมิน

ประเด็นประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์

ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล (%)

(1)

สอบ

 

 

 

  

-  สอบกลางภาค

8

20

 

 

-  สอบปลายภาค

16

30

(2)

การเข้าชั้นเรียน/ใบงาน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการอภิปราย

ตลอดเทอม

20

(3)

การทำรายงานและผลงาน (งานกลุ่ม)

ตลอดเทอม

30

6.เอกสารประกอบการสอน

 

1.เอกสารและตำราหลัก

พีรพัฒน์ พันศิริ.เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2556

 

2.เอกสารและข้อมูลสำคัญ

งามพิศ สัตย์สงวน. (2547).การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา.(2547).ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันประชากรและสังคม        มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ : บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งและพับลิชชิง จำกัด(มหาชน).

ดุจเดือน พันธุมนาวิน.(2549).หลักและวิธีการประมวลเอกสารเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอ ที พรินติ้ง จำกัด.

บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2546).คู่มือการวิจัย: การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: จามรโปรดักท์.

วรรณา  แผนมนิน.(2543).จากทฤษฏีสู่ข้อมูลเชิงประจักษ์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.

ศศิพัฒน์  ยอดเพชร.(2547).ระเบียบวิธีวิจัยทางสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่2.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพล  กาญจนจินดา. (2546).ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์.(2546).ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 4.                กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรา นิคมานนท์. การวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. อักษราพิพัฒน์ จำกัด, กรุงเทพฯ. 2544.