การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross–sectional survey) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก สุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนอายุ 10–14 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติจำนวน 3 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 534 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น
* เว็บไซด์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.thความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ในนักเรียนอายุ 10–14 ปี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 13.1 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ร้อยละ 46.8) ส่วนมากร้อยละ 93.4 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 75.7 ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องสุขบัญญัติแห่งชาติ บิดาและมารดาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 47.6 และ 39.3 ตามลำดับ โดยนักเรียนเกินครึ่ง (ร้อยละ 54.5) เป็นเพศหญิง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (โดยรวม) อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 38.5 ส่วนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับระดับดี มากร้อยละ 48.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำ นายพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ โรคประจำตัว การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การจัดการตนเองและการรู้เท่าทันสื่อ และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านความรู้ ความเข้าใจและการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหลักสุขบัญญัติแห่งชาติให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
* เว็บไซด์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/cph/
* ดูประวัติผู้เขียน : http://pws.npru.ac.th/chirawut/