จุฑาทิพย์  เทพสุวรรณ์

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

            คณะพยาบาลศาสตร์

Statistics Statistics
64425
Online User Online1
Today Today1
Yesterday Yesterday22
ThisMonth This Month75
LastMonth Last Month766
ThisYear This Year3,815
LastYear Last Year8,882

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ npru 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ nurse npru

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lms

 

 

 

สัมมนาวิชาการเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบบริการพยาบาลสู่ระบบบริการสุขภาพไทย ๔.๐” ในวันศุกร์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.

ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร

 

การขับเคลื่อนระบบบริการพยาบาลสู่ระบบบริการสุขภาพไทย 4.0

กฤษดา แสวงดี RN.,Ph.D.

ที่ปรึกษาระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

 

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง การเข้าสังคมผู้สูงอายุ การเชื่อมต่อการค้าการลงทุนจากทั่วโลก ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลให้พยาบาลจำเป็นต้องพิจารณาการทำงานใหม่ เพื่อรับมือกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเยี่ยมบ้าน อาจจำเป็นจะต้องพิจารณาว่าจะทำการเยี่ยมบ้านเองหรือใช้เทคโนโลยีเพื่อทำการเฝ้าติดตามผู้ป่วยตลอดอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

ในปัจจุบันจากงานวิจัยพบว่าโรคของคนไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่เกิดจากปัจจัยทางสังคม ( social health determinants) เช่น โรคไม่คุกคาม การไม่ได้ควบคุมปริมาณน้ำตาล เกลือ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น สำหรับประเทศไทยพบว่าคนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใช้เวลา 7 ปีในการเปลี่ยนไปเป็นโรค Chronic renal disease และต้องเข้าสู่บริการการล้างไต เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้เวลาประมาณ 14-20 ปี  ดังนั้นทำให้ประเทศไทยต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่ม acute care model อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบดูแลสุขภาพของไทยไปเป็น chronic care model

          การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิอากาศ จากที่เคยเป็นการตั้งรับอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่เนื่องจากมีการระบาดของโรคทั้งปี ดังนั้นระบบสุขภาพใหม่ในไทยแลนด์ 4.0 ไม่ใช่เพียงแค่การใช้นวัตกรรมแต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพใหม่พื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ มีการเปลี่ยนรูปแบบบริการจากแบบเดิมไปสู่การกระจายไปยังชุมชนทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงและใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับประชาชนโดยทั่วไปที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

บริการสุขภาพในอนาคต

ระบบสุขภาพในอนาคตที่เกิดในประเทศกลุ่มรายได้สูงซึ่งที่ผ่านมา acute care model (การดูแลในโรงพยาบาล) ใช้เงินในการรักษาจำนวนมากแต่สุขภาพไม่ดีขึ้น แต่ละประเทศรองรับปัญหาผู้สูงอายุไม่ไหว ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็น chronic care model   ทำให้เกิดการดูแลที่บ้าน ในชุมชนโดยการพยายามให้บุคคลแต่ละคนดูแลสุขภาพตนเอง มีความสามรถในการจัดการตนเองได้ ในอนาคตประชาชนต้องพึ่งพาการดูแลมากกว่าต้องการรักษา ดังนั้นพยาบาลต้องมีการพัฒนาตนเองมากขึ้นโดยไม่ยึดติดว่าพยาบาลมีกำลังคนน้อยไม่สามารถทำอะไรได้ ดังนั้นรูปแบบการดูลในอนาคตเน้นคนจัดการสุขภาพตนเองตนเอง

          ปัจจุบันมีแอพลิเคชั่นมากมายที่ใช้ในการดูแลตนเอง ใน 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุมากขึ้นซึ่งเป็นผู้ที่เป็นวัยทำงานในปัจจุบันเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเข้าใจรู้จักเทคโนโลยีอย่างดี แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีอยู่ในปัจจุบันก็จะมีอายุยืนยาวมากขึ้น พยาบาลจะต้องตระหนักว่าจะต้องดูแลจัดการอย่างไรกับประชากรกลุ่มนี้ซึ่งพยาบาลจำเป็นต้องใช้การสอน เสริมสร้างพลังอำนาจให้คนกลุ่มนี้ดูแลตนเองไม่ใช่พยาบาลไปทำแทนผู้ป่วย โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล

ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นให้มี Primary care cluster ที่ต้องมีแพทย์ พยาบาลประจำครอบครัวในอนาคตไม่ใช่การไปเผชิญหน้าอย่างเดียวแต่โดยการใช้เทคโนโลยีในการช่วยดูแล ให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ

          ขณะเดียวกันก็มีเรื่องของ Big data ซึ่งเป็นข้อมูลด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลด้านการตรวจสุขภาพ ข้อมูลการเฝ้าติดตามต่าง ๆ เป็นต้นอ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้าสู่ระบบที่สามารถแปลผล วินิจฉัยล่วงหน้า ก่อนพบแพทย์ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานและในการดูแล

          ในด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทย มีงานวิจัยที่พบว่า 6 เดือนก่อนเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก่อนเสียชีวิตสูงกว่ารายได้ทั้งชีวิต จึงจำเป็นต้องมี long term care facility หรือ hospice care model หรือ palliative care เพื่อเป็นทางเลือกของ acute care ซึ่งผู้แลทั้งหมดนี้คือพยาบาล  แต่พยาบาลจะทำงานแบบเดิม ๆ ไม่ได้เพราะว่าต้องใช้คนจำนวนมากในขณะที่โครงสร้างประชากรลดลง คนวัยแรงงานลดลง จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการดูแลกลุ่ม chronic care model โดยการมุ่งเน้นการเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ ครอบครัวดูแลผู้ป่วยได้ ให้ประชาชนสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากเกิดจากปัจจัยทางสังคมได้ โดยการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

          ในอดีตความรู้ทางการแพทย์ถูกจำกัดไว้เฉพาะกลุ่ม แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่พยาบาลจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้ความรู้ที่ถูกต้อง สามารถดูแลตนเองและหาความช่วยเหลือได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

บริการพยาบาลในอนาคต

High touch and high tech

เมื่อมีเทคโนโลยี จะช่วยให้พยาบาลมีเวลามากขึ้นในการให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งพยาบาล

จำเป็นต้องมีการศึกษาตลอดชีวิต ใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบในการศึกษาความก้าวหน้ามีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเผยแพร่ความรู้ระหว่างทีมสุขภาพ ต้องตระหนักว่าการที่ประชาชนมีความรู้นั้นเป็นความรู้ที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าพยาบาลสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ป่วยได้ ถ้าประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยก็จะลดลง

Leading health team expansion of national primary care capacity

การบริการของพยาบาลต้องเน้นการดูแลมากกว่าการรักษา พยาบาลต้องมีภาวะความเป็นผู้นำ  ต้อง

มีข้อมูลในการคิดค้น คิดเป็นระบบว่าจะจัดการอย่างไรโดยเฉพาะการดูแลใน primary health care  ไม่พึ่งการดูแลรักษาในโรงพยาบาลมากเกินไป ซึ่งเป็นการดูแลเบื้องต้นถ้าพ้นขีดความสามารถก็สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลได้

 

 Primary nurse/case manager

ในอนาคต แต่ละบุคคลจะมีการเจ็บป่วยหรือความต้องการมากขึ้น มีปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น

ระบบพยาบาลเจ้าของไข้จะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน หรือระบบบริการพยาบาลแบบระยะยาว ต้องมีการพิจารณาว่าจะเป็นระบบบริการแบบใด ต้องใช้จำนวนพยาบาลเท่าไหร่ และต้องใช้พยาบาลที่มีความรู้ความสามารถแบบใด ส่วนด้านของ Palliative care หรือ Hospice care ก็จะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตรวมทั้ง Community care ที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น

ดังนั้นการทำงานในทีมสุขภาพซึ่งประกอบด้วยทีมอื่น ๆ อีกมากมาย จึงเป็นตัวผลักดันให้เกิดกลไก

การขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไป

กลไกการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้านกำลังคน

Inclusive growth engine

ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้บริการสุขภาพของประชาชน ต้องมีการกระจายกำลังคนอย่างทั่วถึง มี

บริการสุขภาพที่จำเป็น มีมาตรฐาน ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นธรรม ซึ่งปัญหาในปัจจุบันที่มีการขาดแคลนพยาบาลเนื่องจาก 3 ประเด็น โดยประเด็นที่หนึ่งคือไม่สามารถรักษาพยาบาลไว้ในระบบได้เนื่องจากไม่มีตำแหน่งจ้าง ประเด็นที่สองการกระจายตัวไม่ดีไม่สามารถย้ายได้ และประเด็นที่สามการใช้พยาบาลไม่เหมาะสมกับงาน

Productive growth engine

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานได้ง่าย รวดเร็วมี

ประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้กำลังคนแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับงาน

Green growth engine

การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบหอผู้ป่วยให้ส่งเสริมการฟื้นหายของผู้ป่วย เป็นต้น

ดังนั้นพยาบาลที่จะเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 จะต้องเป็นผู้ที่เห็นทางออกในทุก ๆ ปัญหา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้วางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีข้างหน้าโดยการส่งเสริมสุขภาพคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีมาจัดการระบบสุขภาพ เป็นต้น

Key success factor

การจัดการศึกษาพยาบาลที่เน้นให้พยาบาลเป็นนักคิด เป็นนักนวัตกรรมโดยมีพื้นฐานของความ

เชี่ยวชาญในด้านการดูแล

ระบบการพัฒนาทักษะพยาบาลหรือความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งตามขั้นการพัฒนาของ

พยาบาลต้องมีการพัฒนาให้พยาบาลมีความสามารถในการดูแลในระบบสุขภาพใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในอนาคต บุคลกรในระบบสุขภาพจะมีหลายสาขามากขึ้นซึ่งเราต้องทำงานเป็นทีมกับบุคลเหล่านี้ให้ได้ พยาบาลต้องเป็นผู้ประสานความร่วมมือที่ดีเพื่อสุขภาพของประชาชน