Statistics Statistics
43509
Online User Online1
Today Today90
Yesterday Yesterday120
ThisMonth This Month2,381
LastMonth Last Month3,922
ThisYear This Year17,965
LastYear Last Year15,592

   
 

 การสื่อสารดิจิทัล กับการประยุกต์ใช้โปรแกรม SCILAB
  โดย ศ.ดร. ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์

 

 

วิชาการสื่อสารดิจิทัล (digital communications) เป็นวิชาที่สำคัญมากต่อการเรียนทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม เพราะจะอธิบายหลักการทำงานของวงจรภาคส่งและวงจรภาครับที่ใช้ในระบบสื่อสารต่างๆ ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการสื่อสารไร้สาย ระบบส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นวิชาการสื่อสารดิจิทัลจึงเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาขั้นสูงอื่นๆ ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การสื่อสารดาวเทียม การสื่อสารไร้สาย และการสื่อสารทางแสง

หนังสือเล่มนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาการสื่อสารดิจิทัลซึ่งเป็นวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร ปี พ.ศ. 2554 โดยจากประสบการณ์การสอนของข้าพเจ้าพบว่าวิชาการสื่อสารดิจิทัลเป็นวิชาที่เข้าใจยาก เพราะมีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับสมการคณิตศาสตร์จำนวนมากซึ่งบางครั้งทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงได้มีการนำโปรแกรม SCILAB ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้ฟรี (ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB ได้ที่ http://home.npru.ac.th/piya/webscilab) มาประยุกต์ใช้ประกอบคำอธิบาย (มีการแสดงชุดคำสั่งของโปรแกรม SCILAB ที่ใช้ในการวาดรูปกราฟและการคำนวณต่างๆ) ของเนื้อหาในแต่ละบทเรียน เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาต่างๆในบทเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของระบบสื่อสารดิจิทัล จากนั้นบทที่ 2 และบทที่ 3 จะกล่าวถึงทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณและระบบ และตัวแปรสุ่มและกระบวนการสุ่ม ตามลำดับ เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนที่จะศึกษาในบทต่อไป บทที่ 4จะอธิบายกระบวนการกล้ำรหัสพัลส์ซึ่งประกอบด้วยการชักตัวอย่าง การเเจงหน่วย และการเข้ารหัสพีซีเอ็ม บทที่ 5 จะกล่าวถึงการกล้ำสัญญาณแถบความถี่ฐาน โดยเน้นไปที่การกล้ำสัญญาณพัลส์แบบแอนะล็อกและแบบดิจิทัล บทที่ 6 อธิบายกระบวนงานแกรม-ชมิดท์ การออกแบบวงจรภาครับเหมาะที่สุดสำหรับการส่งข้อมูลไบนารี และการคำนวณหาสมรรถนะของวงจรภาครับ จากนั้นบทที่ 7 และบทที่ 8 กล่าวถึการกล้ำสัญญาณผ่านแถบแบบไบนารี (เช่น บีเอเอสเค บีเอฟเอสเค และบีพีเอสเค) และการกล้ำสัญญาณผ่านแถบแบบเอ็ม-อารี (เป็นการกล้ำสัญญาณดิจิทัลที่ใช้แบนด์วิดท์คุ้มค่า) ตามลำดับ โดยจะเน้นไปที่โครงสร้างของวงจรภาคส่งและวงจรภาครับ รวมถึงการหาสมรรถนะในรูปความน่าจะเป็นของข้อผิดพลาดของระบบที่ใช้วิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัลแบบต่างๆ เหล่านี้ บทที่ 9 อธิบายพื้นฐานของการส่งผ่านสัญญาณพัลส์แถบความถี่ฐานซึ่งประกอบด้วยการแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ ทฤษฎีบทของไนควิสต์ การเข้ารหัสสหสัมพันธ์ และอีควอไลเซอร์ บทที่ 10 กล่าวถึงทฤษฎีข่าวสาร และการเข้ารหัส
แหล่งต้นทาง (เพื่อกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะส่งไปยังปลายทาง) และสุดท้ายบทที่ 11 อธิบายการเข้ารหัสช่องสัญญาณแบบต่างๆ (รหัสบล็อกเชิงเส้น รหัสวน และรหัสคอนโวลูชัน) เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่ส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง

 

CLICK ที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดหนังสือฟรี 



Content & Download

 

 
สารบัญ (Download รายละเอียดของสารบัญ)


บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 พื้นฐานสัญญาณและระบบ

บทที่ 3 ตัวแปรสุ่มเเละกระบวนการสุ่ม 

บทที่ 4 การกล้ำรหัสพัลส์

บทที่ 5 การกล้ำสัญญาณแถบความถี่ฐาน  

บทที่ 6 วงจรภาครับเหมาะที่สุดสำหรับการส่งข้อมูลไบนารี

บทที่ 7 พื้นฐานการกล้ำสัญญาณผ่านแถบ 

บทที่ 8 การกล้ำสัญญาณผ่านแถบแบบเอ็ม-อารี

บทที่ 9 การส่งผ่านสัญญาณพัลส์แถบความถี่ฐาน
บทที่ 10 ทฤษฎีข่าวสารและการเข้ารหัสแหล่งต้นทาง
บทที่ 11 การเข้ารหัสช่องสัญญาณ
 
 
Extra Stuff
คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB
 
 

 
 


LINK TO COURSE HOMEPAGE ....

 

 

Copyright (c) 2012 NPRU. All Rights Reserved. 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000