Statistics Statistics
43419
Online User Online1
Today Today120
Yesterday Yesterday152
ThisMonth This Month2,291
LastMonth Last Month3,922
ThisYear This Year17,875
LastYear Last Year15,592

การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล

Signal Processing for Digital Data Storage

ศ.ดร.ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์ 

 

Introduction

    ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (hard disk drive) เป็นผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญต่อภาคการส่งออกของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยในปี พ.ศ.2554ได้มีประมาณการว่าประเทศไทยจะสามารถส่งออกของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบได้สูงถึง500,000ล้านบาทและก่อให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมมากถึง 150,000 อัตรา (ที่มา: รายงานการศึกษาโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการรองรับอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และประมาณจากแนวโน้มของตลาดโลกและการขยายตัวของไทยที่ผ่านมา) 

      ในหลายปีที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขึ้น ภายใต้การดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย (ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของโลก เช่น บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท เวสเทิร์น ดิจิทัล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น) ให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้นทางเนคเทคจึงได้จัดเตรียมแผนการส่งเสริมด้านต่างๆ ไว้หลายโครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, โครงการร่วมลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, และโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาทางด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้นเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเป็นที่หนึ่งทางด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโลกด้วยเทคโนโลยีและแรงงานระดับสูง

หนังสือ "การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เล่ม 1 : พื้นฐานช่องสัญญาณอ่าน
และเล่ม 2 : การออกแบบวงจรภาครับ'' ได้ถูกเขียนขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของประเทศไทยหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (digital signal processing)
และระบบสื่อสารดิจิทัล (digital communication) รวมทั้งผู้ที่สนใจทางด้านระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยจะอธิบายในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจและศึกษาด้วยตนเอง

หนังสือ “การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เล่ม 3: การออกแบบ
วงจรภาครับขั้นสูง
” ได้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อรองรับระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆที่ใช้เทคนิคการถอดรหัสแบบวนซ้ำ (iterative decoding) เพื่อเพิ่มความจุข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้อธิบายถึงเทคโนโลยีการบันทึกเชิงแม่เหล็กแบบใหม่ ได้แก่ เทคโนโลยี BPMR (bit-patterned magnetic recording) และ HAMR (heat-assisted magnetic recording) ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาใช้ในอนาคตแทนเทคโนโลยีการบันทึกแบบแนวตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 

หนังสือ “การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เล่ม 4: การออกแบบ
วงจรภาครับขั้นสูงสำหรับ BPMR และ TDMR
ได้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อรองรับระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความจุข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น โดยจะอธิบายถึงเทคโนโลยีการบันทึกเชิงแม่เหล็กแบบใหม่ ได้แก่ เทคโนโลยี BPMR (bit-patterned magnetic recording) และ TDMR (two-dimensional magnetic recording) ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาใช้ในอนาคตแทนเทคโนโลยีการบันทึกเชิงแม่เหล็กแบบแนวตั้ง (perpendicular magnetic recording) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

CLICK ที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดหนังสือฟรี  

หนังสือการประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล

เล่ม 1 : พื้นฐานช่องสัญญาณอ่าน (ปี 2550)

เล่ม 2 : การออกแบบวงจรภาครับ (ปี 2550)

เล่ม 3: การออกแบบวงจรภาครับขั้นสูง (ปี 2554)

เล่ม 4: การออกแบบวงจรภาครับขั้นสูงสำหรับ BPMR และ TDMR (ปี 2560)

 

Extra Stuff

คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB (http://home.npru.ac.th/piya/webscilab 

 

ท่านที่สนใจสามารถหาซื้อหนังสือได้ที่

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้จัดจำหน่าย)

ศูนย์หนังสือ สวทช

บริษัทซีเอ็ด (มหาชน) จำกัด 

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย