Dr. Phongsathorn Khrueafa (Attie)

#Instructor for Visul Communication Design University


#Creative Art #Designer #illustrator #Character design #Branding #3DAnimator #Art Director #VirtualEffect #Retoucher #AdvertisingDesigner #Influencer #DigitalContent #Environmental Graphic Design #Experimental Design 

@Faculty of Humanities and Social Sciences

@Nakhon Pathom Rajabhat University

Contact No: 034-261066
Mobile :+
E-mail: Phongsthorn@webmail.npru.ac.th
Address:
Nakhon Pathom Rajabhat University 85 Malaiman Road, Muang, Nakhon Pathom 73000 Thailand.



 

 


Statistics Statistics
17446
Online User Online1
Today Today23
Yesterday Yesterday12
ThisMonth This Month567
LastMonth Last Month597
ThisYear This Year3,674
LastYear Last Year8,559

อาจารย์ ดร.พงษธร เครือฟ้า ร่วมแสดงผลงาน แสดงผลงาน Digital Painting ในนิทรรศการศิลปะออกแบบราชภัฎ38แห่ง "อัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย"ครั้งที่10  ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 

 

ชื่อศิลปิน :  อาจารย์ดร.พงษธร เครือฟ้า

ชื่อผลงาน : นารายณ์ทรงสุบรรณอนันตนาคราช

เทคนิค  : Digital Painting

ขนาดงาน : 60x70 เซนติเมตร

ปี พ.ศ. : 2565

1. แนวคิดผลงาน

        ผลงานสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจผ่านการเครารพบูชานับถือ เกิดความศรัทธาในอำนาจพุทธคุณของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งเทพผู้ปกครองผู้เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม ความดี ความเมตตา ความเฉลียวฉลาด ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา โดยที่กำลังทรงสุบรรณหรือพญาครุฑ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพญาแห่งวิหก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ มีความเป็นอมตะ “สุบรรณ” อันหมายถึง “ผู้ที่มีปีกอันวิเศษงดงามและทรงพลัง” ที่กำลังยึดอนันตนาคราช ถือเป็นราชาแห่งพญานาคผู้เป็นใหญ่ในนครบาดาล มีความเก่งกาจสามารถในเรื่องของฤทธิ์เดช อำนาจ และบารมี โดยตามคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู เป็นที่เคารพสักการะของมวลมนุษย์มีพลังอำนาจ มากด้วยบารมี และมีความอันยิ่งใหญ่สมเป็น “พญาอนันตนาคราช” โดยต้องการแสดงผลงานผ่านสร้างสรรค์นี้ ด้วยการวาดด้วยเทคนิค Digital Painting เสนอเนื้อหาตามที่ได้กล่าวมานั้นภายใต้แนวคิด ศรัทธามาเหนือเมฆ”

2. กระบวนการในการสร้างสรรค์

          กระบวนการสร้างสรรค์ การวาดด้วยเทคนิค Digital Painting ขนาด 40x50 เซนติเมตร ด้วยโปรแกรม Procreate ในเครื่อง iPad  เริ่มต้นจากการสืบหารูปแบบจากเทวรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณแบบโบราณมาใช้ในการวาด และลักษณะพญานาคซึ่งถอดแบบมาจากลวดลายบนผ้ายันต์จากวัดไทย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย มาเป็นแนวทางสร้างสรรค์ อีกทั้งยังมีการแบ่งกลุ่มชั้นกระบวนการวาด โดยแบ่งออกเป็นชุดสี ในหมวดที่แตกต่างกัน ใช้เป็นการจัดกลุ่มสำหรับการลงสี เป็น 4 สีกลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1) กลุ่มของการลงสีองค์พระนารายณ์ 2) กลุ่มของการลงสีองค์พญาครุฑ 3) กลุ่มของการลงสีองค์พญานาค 4) กลุ่มของการลงสีสภาพแวดล้อมโดยรอบ โดยต้องการให้แสดงออกถึงความเป็นเทพนิยายที่เหนือจริง แข็งแรงดุดัน ความมีอำนาจ และความมีเมตตาภายใต้แนวคิด ศรัทธามาเหนือเมฆ” ได้อย่างสร้างสรรค์

yes พงษธร เครือฟ้า. (2567) แสดงผลงาน Digital Painting ในนิทรรศการศิลปะออกแบบราชภัฎ38แห่ง "อัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย"ครั้งที่10 กับทางสาขาวิชาทัศนศิลป์ , มีเดียอาร์ต และศิลปศึกษา ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 


อาจารย์ ดร.พงษธร เครือฟ้า จัดอบรมกิจกรรมปรับพื้นฐานการออกแบบกราฟิก

ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ประจำปีการศึกษา 2567


อาจารย์ ดร.พงษธร เครือฟ้า ที่ปรึกษาโครงการวิจัยนักศึกษา ชั้นปีที่ 4


อาจารย์ ดร.พงษธร เครือฟ้า คณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ กลุ่มการออกแบบและสร้างสรรค์

 

ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๗ และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๔ และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ RICE ครั้งที่ ๓ ร่วมกับ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ พหุวิทยาการในการดำเนินชีวิตและธุรกิจอย่างยั่งยืน ครั้งที่ ๔ (The 4th  RMUTR and 3rd RICE/ Sus-LaB 4 International Conference) ในระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ อาคารสัมมนาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

 


 

อาจารย์ดร. พงษธร เครือฟ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัย  วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (TCI 1) ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2023): July-December 2023

พงษธร เครือฟ้า, อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2566). การสร้างสรรค์งานเรขศิลป์ สื่อสารอัตลักษณ์วิถีเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ( Graphic Design for the Identity of Songkhla Old Town ). (กรกฏาคม-ธันวาคม ปี 2566). (ปีที่ 10). (ฉบับที่ 2) หน้า 77-104. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (TCI 1) การตีพิมพ์บทความ: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/faa/article/view/259837


 

อาจารย์ดร. พงษธร เครือฟ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ นำเสนอบทความวิชาการ ในโครงการการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
“SIGNAL COMES AND GOES: CREATIVITIES AFTER REOPENING WORLD 2023 , THE CHANGE IN SOCIETY AND CULTURE FOR SMART CITY” เมื่อวันที่ วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30-16.30 น. ในหัวข้อ แนวคิดกรันจ์ในยุค 1970-1990 ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบเชิงสุนทรียะในการออกแบบเรขศิลป์ (1970-1990's Grunge Concepts Influencing Aesthetic Design in Graphic Design) 

การตีพิมพ์บทความ:  http://www.smartssociety.com/proceedings/smarts12.pdf


ผลงานนักศึกษา ออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 


**** สนใจสมัครเรียนคลิกที่นี่ 

ผู้สมัครสามารถมาสมัครที่มหาวิทยาลัยฯ ได้โดยมหาวิทยาลัยฯ มีเครื่องคอมพิวเตอร์บริการผู้สมัคร ณ จุดรับสมัครนักศึกษาใหม่ อาคารศูนย์ศึกษาพัฒนาจังหวัดนครปฐม  รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่ https://drive.google.com/.../1LdUYcAzbEnvBWcgd9qPF0q.../view
ฝ่ายรับสมัครนักศึกษา โทร.034 109 300 ต่อ 3891 



ผลงานออกแบบโดยนักศึกษาออกแบบนิเทศศิลป์