Statistics Statistics
57269
Online User Online1
Today Today12
Yesterday Yesterday32
ThisMonth This Month430
LastMonth Last Month521
ThisYear This Year1,955
LastYear Last Year7,423

 

 

 
 

 

 

โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ประวัติและความเป็นมา


โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชนเป็นโปรแกรมอีกวิชาหนึ่งที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งได้มีการจัดเปิดรายวิชาต่างๆ เพื่อประกอบกระบวนการเรียนการสอนในโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้
พ.ศ.2529 เปิดการเรียนการสอนในระดับอนุปริญญาทั้งภาคปกติ และ กศ.บป.
พ.ศ.2531 เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี ในภาคปกติ และปริญญาตรี 2 ปีหลังภาค กศ.บป. เพื่อรับนักศึกษาที่จบระดับอนุปริญญาตรีมาศึกษาต่อยอดระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ต่อมาการศึกษาในระดับปริญญาตรี 2 ปีหลังได้เปลี่ยนมาเป็นโครงการ กศ.พป. สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ภาคปกติ ในอดีตที่ผ่านทางโปรแกรมฯ เปิดการเรียนการสอนเพียงบางปีตามความเหมาะสม แต่ปัจจุบันมีการเปิดสอนทุกปี
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 โปรแกรมฯ เปิดการเรียนการสอนในโครงการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับผู้นำชุมชน (ศอช.) ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เป็นจำนวนมากจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการฯ เมื่อปีการศึกษา 2549
พ.ศ. 2555 โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชนมีการปรับปรุงหลักสูตรขึ้นใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านการเมืองการปกครอง ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาการ

ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์


ปรัชญา
มุ่งพัฒนาคนสู่ความเป็นนักพัฒนาที่มีคุณภาพ และคุณธรรม
วิสัยทัศน์
พัฒนาอาจารย์ และผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ คุณธรรม รับใช้ชุมชนท้องถิ่น

พันธกิจ


(1)ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรมสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและขยายโอกาสทางการศึกษา
(2)ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(3)วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และวิจัยท้องถิ่นแบบบูรณาการ
(4).ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งยังส่งนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกเป็นประจำทุกปีอีกด้วย
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ คุณธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน หรือประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) พัฒนาบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้มีวิจารณญาณที่จะชักนำชุมชนให้ตระหนักในปัญหาเกิดความต้องการ และจัดการแก้ปัญหาด้วยหลักแห่งความร่วมมือร่วมใจกันกระทำกิจกรรม
(3) เพื่อให้บุคคลมีเจตคติที่ดี มีจรรยาบรรณ และมีความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
(4) พัฒนาบุคคลให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมทั้งสามารถปรับตัวให้อยู่อย่างมีความสุขได้ในทุกสถานการณ์