อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

Statistics Statistics
13237
Online User Online1
Today Today3
Yesterday Yesterday2
ThisMonth This Month128
LastMonth Last Month214
ThisYear This Year743
LastYear Last Year2,856

 

 

รายวิชา กฏหมายการศึกษา 

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์ 

 

หมวดที่ข้อมูลทั่วไป

 

1. รหัสและชื่อรายวิชา

          รหัสวิชา 1113701  (ชื่อวิชาภาษาไทย)      กฏหมายการศึกษา 

                                 (ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ)   Educational Laws

2. จำนวนหน่วยกิต

          2(2-0-4)

3.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

          3.1 หลักสูตร

               ครุศาสตรบัณฑิต 

          3.2  ประเภทของรายวิชา

               วิชาเลือก

4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

          4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

               อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

          4.2  อาจารย์ผู้สอน

               อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

5.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

         ภาคการศึกษาที่ 2/ 2558 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปี 4

6.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)  (ถ้ามี)

          -

7.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)  (ถ้ามี)

          -

8. สถานที่เรียน

          คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

9.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          วันที่  9  ธันวาคม  2558

 

 

หมวดที่ 2  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

      1) ศึกษาลักษณะสำคัญของกฎหมาย กฎหมายการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้

2) ศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของกฎหมายการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้

3) ศึกษาแนวทางการนำกฎหมายมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาได้

 

2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ ปรับปรุงรายวิชา  

          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักของกฎหมายเบื้องต้น กฎหมายการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สามารถนำกฎหมายมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาได้

 

หมวดที่ 3  ลักษณะและการดำเนินการ

1.  คำอธิบายรายวิชา

          กฎหมายการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แนวทางการนำกฎหมายมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา

 

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  30  ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

 

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย

-

การศึกษาด้วยตนเอง  4  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

      อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

 

หมวดที่ 4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

 

1.  คุณธรรม จริยธรรม

1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

       นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ ต่าง ๆ  ที่ศึกษาอย่างน้อย 6 ข้อที่ระบุไว้

-  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

-                      มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

-  มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดั บความสำคัญของการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การและสังคม

 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

          1.2  วิธีการสอน

- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ มีตัวอย่างวีดีโอให้นักศึกษาวิเคราะห์

-  อภิปรายและแสดงความคิดเห็น

-  มอบหมายงานและกำหนดระยะเวลาในการส่งงานให้นักศึกษาทั้งงานรายบุคคลและกลุ่ม

          1.3  วิธีการประเมินผล

          สังเกตพฤติกรรมการเรียน  และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา -         

                   - ประเมินเจตคติ และรูปแบบความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น

                  -  ประเมินจากแบบทดสอบเก็บคะแนน

 

2.  ความรู้

          2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ

               มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิธีการและแนวทางการนำกฎหมายมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา

         2.2 วิธีสอน

               บรรยาย  อภิปราย  การทำงานรายบุคคลและกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ งานวิจัย   ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  โดยนำมาสรุปและนำเสนอ 

          2.3  วิธีการประเมินผล

  • ทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียน
  • ทดสอบกลางภาค  สอบปลายภาค 
  • ประเมินผลงาย ภาระงาน ชิ้นงานที่มอบหมายทั้งระดับรายบุคคลและกลุ่ม

 

3.  ทักษะทางปัญญา

          3.1  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

               มีความสามารถในการคิดอย่างอย่างเป็นระบบ  มีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพครู

          3.2  วิธีการสอน

                - บรรยาย/อภิปราย

               - การมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล ความรู้ การมอบหมายงานรายบุคคล และการทำรายงานกลุ่ม  และนำเสนอผลการศึกษา

3.3  วิธีการประเมินผล

ประเมินการทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียน  คุณภาพของงาน การทดสอบกลางภาค และการทดสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดและการประยุกต์ใช้

 

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  1.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

                   - สามารถสื่อสารกับสมาชิกในห้องเรียนและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   - สามารถแสดงบทบาทของการผู้นำและผู้ตาม

   -  สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วน

4.2   วิธีการสอน

- จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ การมอบหมายงานให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติทั้งระดับรายบุคคลและกลุ่ม

4.3   วิธีการประเมินผล

      - แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

- ประเมินบทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรม

- ประเมินเจตคติ และรูปแบบความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น

5.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  1.  ทักษะการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด  การฟัง  การเขียน  โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน

               - พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษา

               - พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลฐานข้อมูล (Database)

               - พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ  เครื่องมือ  และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

 

  1.  วิธีการสอน

-  การบรรยาย  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน

- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากฐานข้อมูลต่าง ๆ   

- นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

  1.  วิธีการประเมินผล

- ประเมินผลงาน ภาระงาน ชิ้นงาน  และทักษะในการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี

- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค

- การสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 

 

หมวดที่ 5  แผนการจัดการเรียนรู้สอนและการประเมินผลการเรียนรู้

  1. แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

ภาระงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน

การประเมินผลการเรียนรู้

1

ปฐมนิเทศ  ขอบข่ายการเรียนงานและกิจกรรมมอบหมายแนวการประเมินผลการวางแผนการเรียน

2

แจกเอกสารแนวการจัดการเรียนรู้  -

 - ชี้แจงแนวการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมมอบหมาย ร่วมกันกำหนดกติกาการเรียนและวางแผนการเรียนร่วมกัน พร้อมทั้งเกณฑ์การประเมินผลการให้คะแนนการรายงานกลุ่มร่วมกัน

-  ทำข้อสอบ (pre test)

เอกสารประกอบการสอน

เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของวิชาชีพครู

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

2 - 3

 

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

 

4

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย

- กิจกรรมเดี่ยว

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอจากการศึกษา

- การถาม – ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- การทดสอบหลังบทเรียน

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย             - PowerPoint   - เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละกลุ่ม

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

4 - 5

1. ประเภทและลักษณะสำคัญของกฎหมายการศึกษา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

2. กฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

ภาระงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน

การประเมินผลการเรียนรู้

6 - 7

- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545, พ.ศ.2553 กับการจัดการศึกษา

- พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กับการจัดการศึกษา

 

4

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

8

สอบกลางภาค

 

9

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2553 กับการจัดระบบบริหารการศึกษาไทย

 

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

ภาระงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน

การประเมินผลการเรียนรู้

10

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2553 กับการจัดระบบบริหารการศึกษาไทย

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

 

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

11

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

12

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551, 2553 กับการปฏิบัติงานทางการศึกษา

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

ภาระงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน

การประเมินผลการเรียนรู้

13

- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554

- พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556

 

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

14

- พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546

- กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548

- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548

2

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- การทดสอบหลังบทเรียน

 

- PowerPoint รายงานกลุ่ม

- วีดีโอตามหัวข้อกฎหมาย           

- เอกสารประกอบการสอน

-สรุปผังมโนทัศน์ (mind map)ของแต่ละคน

- เล่มรายงาน

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

ภาระงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน

การประเมินผลการเรียนรู้

15 - 16

สรุปแผนผังชีวิตของแต่ละคนในรายวิชากฎหมายการศึกษา

- สรุปทบทวนความรู้ทั้งหมดเป็นผังมโนทัศน์(mind map)

4

- กิจกรรมมอบหมายรายกลุ่ม/การนำเสนอผลจากการศึกษา

- กิจกรรมเดี่ยว สรุปผังมโนทัศน์ของแต่ละคน

- การถาม– ตอบ ระหว่างกลุ่ม

- วิเคราะห์ตัวอย่างจากวีดีโอ

- (post test)

- วีดีโอตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานประกอบไปด้วยครู  ผู้อำนวยการ และศึกษานิเทศก์

- แผนผังชีวิต แบบผังมโนทัศน์  (mind map) ของแต่ละกลุ่ม

- สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-ประเมินผลงานกลุ่ม

- ประเมินผลงานรายบุคคล

 

17

สอบปลายภาค

 

 

2. แผนการประเมินการเรียนรู้

การประเมิน

งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์

ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล

(1)

สอบ

- กลางภาค

- ปลายภาค

 

8

17

 

20%

30%

(2)

การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม

ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา

10%

(3)

รายงานการศึกษาค้นคว้า/กิจกรรมมอบหมายทั้งรายบุคคลและกลุ่ม

 

40%

 

เกณฑ์การประเมินผล

               80 % ขึ้นไป   ระดับคะแนน   A                60 - 64   %  ระดับคะแนน   C 

               75 - 79  %    ระดับคะแนน   B+              55 - 59   %  ระดับคะแนน   D+

               70 - 74  %    ระดับคะแนน   B               50 - 54   %  ระดับคะแนน   D

               65 - 69  %    ระดับคะแนน   C+                0 - 49   %  ระดับคะแนน   E

หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

 

1.  เอกสารและตำราหลัก

     พรศรี  ฉิมแก้ว (บรรณาธิการ). (2549). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการ

    ศึกษา กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

      สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549).กฎหมายที่เกี่ยวกับการ

              ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติกฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ)  

              กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

      หยุด  แสงอุทัย. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

             มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.  เอกสารและข้อมูลสำคัญ

     สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

(2549). รวมกฎหมายการศึกษา (ฉบับผู้ปฏิบัติงาน).กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ

 สภาการศึกษา

3.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ

 อุดม เชยกีวงศ์. (2543). ศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ : บรรณกิจ

 

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

 

1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

          การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

          -  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

-  การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน

-  แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชา

2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน  ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

-   ผลการสอบ

-   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

3.  การปรับปรุงการสอน

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

-  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

-  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

           ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

          -  การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาจากการสุ่มตรวจผลงาน รายงาน  วิธีการให้คะแนนและข้อสอบ  โดยคณะกรรมการในสาขาวิชา

5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

          ปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชา โดยปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อ 3 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาตามข้อ  4

 

 

                                                                   ลงชื่อ  อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

      อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

       วันที่  9  ธันวาคม  2558