อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

Statistics Statistics
13238
Online User Online1
Today Today4
Yesterday Yesterday2
ThisMonth This Month129
LastMonth Last Month214
ThisYear This Year744
LastYear Last Year2,856

 

 

รายวิชาพื้นฐานการศึกษา

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา ครุศาสตร์  

 

หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

 

1. รหัสและชื่อรายวิชา

          1112101 พื้นฐานการศึกษา

                     Foundation of Education

2. จำนวนหน่วยกิต

          3(3-0-6)

3.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

          3.1      หลักสูตร

              ครุศาสตรบัณฑิต

          3.2      ประเภทของรายวิชา

              วิชาบังคับ

4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

          4.1      อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

              อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

5.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

          ภาคการศึกษาที่ 1 /ชั้นปีที่  1

6.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)  (ถ้ามี)

          ไม่มี

7.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)  (ถ้ามี)

          ไม่มี

8. สถานที่เรียน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

9.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          วันที่ 9 เดือน ธันวาคม พ.ศ.  2558

 

หมวดที่ 2  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 

1.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาที่เป็นพื้นฐานการศึกษาที่จำเป็นต่อสาขาวิชาชีพครู เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องในภาคเรียนถัดไป

 

2.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้สอนควรมีการวิเคาะห์ตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มการศึกษาของไทยและสากลตามยุคสมัย

 

หมวดที่ 3  ลักษณะและการดำเนินการ

 

1.  คำอธิบายรายวิชา

          บทบาทของการศึกษาในการพัฒนาประเทศ ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา จิตวิทยา สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม แผนการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา แนวคิดและกลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน การวิเคราะห์เกี่ยวกับบริบท แนวโน้ม และปัญหาการศึกษาสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  3 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย 

ไม่มี

การศึกษาด้วยตนเอง  

 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

 

3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็น

     รายบุคคล

     -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

 

หมวดที่ 4  การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1.  คุณธรรม จริยธรรม

          1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (ให้ตรงกับ มคอ.2)

              พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

              -  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

              -  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

              -  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ

              -  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

              -  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

              -  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

          1.2  วิธีการสอน

              -  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย   วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย  การประกันคุณภาพการศึกษา  การศึกษาแบบเรียนรวม  การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และแนวโน้มการจัดการศึกษาไทย

              -  อภิปรายกลุ่ม

              -  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง

              -  บทบาทสมมติ

          1.3  วิธีการประเมินผล

               -  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา

              -  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม

              -  ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

              -  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย

2.  ความรู้

          2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ

              มีความรู้ในหลักการเกี่ยวกับบทบาทของการศึกษาในการพัฒนาประเทศ ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา จิตวิทยา สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม แผนการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา แนวคิดและกลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน การวิเคราะห์เกี่ยวกับบริบท แนวโน้ม และปัญหาการศึกษาสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

          2.2  วิธีการสอน

              บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอการศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem base learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

          2.3  วิธีการประเมินผล

              -  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี

              -  นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

              -  วิเคราะห์กรณีศึกษา

3.  ทักษะทางปัญญา

          3.1      ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

              พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ทฤษฎี หลักการและความรู้ทางพื้นฐานการศึกษาอย่างสร้างสรรค์

          3.2      วิธีการสอน

              -  การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ และนำเสนอผลการศึกษา

              -  อภิปรายกลุ่ม

              -  วิเคราะห์กรณีศึกษา

              -  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ

          3.3  วิธีการประเมินผล

              สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการและความรู้ทางพื้นฐานการศึกษา

 

 

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          4.1      ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

              -  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

              -  พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม

              -  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา

          4.2      วิธีการสอน

              -  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา

              -  มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล  การนำตัวอย่างการใช้หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

              -  การนำเสนอรายงาน

          4.3      วิธีการประเมินผล

              -  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด

              -  รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

              -  รายงานการศึกษาด้วยตนเอง

5.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

          5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา     

              -  ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข

              -  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล  การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน

              -  พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา

              -  พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

              -  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

          5.2  วิธีการสอน     

              -  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำกรณีศึกษา จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

              -  นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม      

          5.3  วิธีการประเมินผล

              -  การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี

              -  การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย

 

หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมินผล

1.  แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ชิ้นงาน/วิธีการประเมิน

ผู้สอน

1

  • ประวัติการศึกษาไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • ประวัติการศึกษาไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

3

บรรยายความเป็นมาของการศึกษาไทย

ศึกษาประวัติการศึกษาไทยจากเอกสาร

 

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

2

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของการศึกษา (ต่อ)

  • เปรียบเทียบการศึกษาไทย
  • แนวทางการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน

 

 

กิจกรรมกลุ่มเปรียบเทียบการศึกษาไทยในแต่ละสมัย กิจกรรมกลุ่มวิพากษ์แนวทางการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

3

บทที่ 2 บทบาทการศึกษาในการพัฒนาประเทศ

  • การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

3

อภิปรายพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

4

บทที่ 2 บทบาทการศึกษาในการพัฒนาประเทศ (ต่อ)

  • อุปสรรค และความท้าทายของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • นโยบายการจัดการศึกษาของไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

3

  1. นำเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
  2. นำเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ

นำเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสังคม

 

 

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

5

บทที่ 3 ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา

3

บรรยายความหมายปรัชญาและปรัชญาการศึกษา กิจกรรมเดี่ยวของปรัชญาดำเนินชีวิต

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

6

บทที่ 3 ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา (ต่อ)

 

3

กิจกรรมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ปรัชญาเป็นแนวทางแก้ไขกิจกรรมกลุ่ม

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

7

บทที่ 4 โครงสร้างและการจัดระบบการบริหารสถานศึกษา

  • กฎหมายและระเบียบทางการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

  • โครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

3

บรรยายกฎหมายและระเบียบทางการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

8

สอบกลางภาค

3

 

 

9

บทที่ 5  แผนการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษา

  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

 

3

สรุปแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิเคราะห์แนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อเน้นคุณธรรมนำความรู้

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

10

บทที่ 5  แผนการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษา

  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (เน้นฉบับที่ 9-10)

 

3

บรรยายแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำเสนอภาวะวิกฤติการศึกษาไทยในปัจจุบัน รายงานสรุปแผนการศึกษาแห่งชาติ

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

11

บทที่ 6 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของท้องถิ่น  

 

3

บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ศึกษากรณีศึกษาปัญหาในการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

12

บทที่ 6 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของท้องถิ่น  

 

3

บรรยาย การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและศูนย์จัดการเรียนรู้ ชมวีดีทัศน์ศูนย์การจัดการเรียนรู้ชุมชน

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

13

บทที่ 6 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของท้องถิ่น  

 

3

กิจกรรมกลุ่มนำเสนอศูนย์เรียนรู้ชุมชน กิจกรรมกลุ่มนำเสนอการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเชื่อมโยงศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกับสถานศึกษา

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

14

บทที่ 6 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของท้องถิ่น  

 

3

กิจกรรมกลุ่มนำเสนอศูนย์เรียนรู้ชุมชน กิจกรรมกลุ่มนำเสนอการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเชื่อมโยงศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกับสถานศึกษา

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

15

บทที่ 6 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของท้องถิ่น  

 

3

กิจกรรมกลุ่มนำเสนอศูนย์เรียนรู้ชุมชน กิจกรรมกลุ่มนำเสนอการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเชื่อมโยงศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกับสถานศึกษา

อ. ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

16

สอบปลายภาค

3

 

 

 

2.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

การประเมิน

งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์

ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล

(1)

สอบ

 

 

 

  

-  สอบกลางภาค

8

20%

 

 

-  สอบปลายภาค

16

30%

(2)

การเข้าชั้นเรียน

ตลอดเทอม

10%

(3)

การมีส่วนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดเทอม

20%

(4)

รายงานรายบุคคล

ตลอดเทอม

10%

(5)

การทำงานกลุ่มและผลงาน

ตลอดเทอม

10%

 

 

หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

 

1.  เอกสารและตำราหลัก

พิชญาภา ยืนยาว. (2558). เอกสารประกอบการเรียนวิชาพื้นฐานการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

2.  เอกสารและข้อมูลสำคัญ

          ปัญหาการจัดการศึกษาไทยและสากลในปัจจุบัน และแนวโน้มการปฏิรูปการศึกษาของไทยและสากล

 

3.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ

          เวปไซต์ที่เกี่ยวของเช่น   www.moe.go.th  (กระทรวงศึกษาธิการ)   www.onec.go.th (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ)   www.oer.go.th    (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา)

www.edunet.ksc.net  (โครงการเพื่อการศึกษา)

 

 

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

          การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

          -  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

          -  การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

          -  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

          ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

          -  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน

          -  ผลการสอบ

          -  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

3.  การปรับปรุงการสอน

          หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

          -  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

          -  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน    

4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

          ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

          -  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร

          -  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

          จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

          -  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐาน

ผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4

          -  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ

 

                                                                                                                             

                                                                 ลงชื่อ  อาจารย์ ดร.ณัฐวรรณ  พุ่มดียิ่ง

      อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

       วันที่  9  ธันวาคม  2558