มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Statistics Statistics
46814
Online User Online1
Today Today4
Yesterday Yesterday3
ThisMonth This Month160
LastMonth Last Month337
ThisYear This Year1,040
LastYear Last Year4,078

Log in
เว็บไซต์อาจารย์


งานวิจัย


2549

เบญจรัตน์ สีทองสุก และ ประวิณ พูลทรัพย์. (2549).  การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมลายประดิษฐ์งานผ้าของชาวไทยโซ่ง.  นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

งานนำเสนอ | เอกสารงานวิจัย | บทคัดย่อ


2547

เบญจรัตน์ สีทองสุกและคณะ.  (2547). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยห้องสมุดมีชีวิตสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 

สาระสังเขป

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงการค้นหาสารสนเทศของผู้ใช้บริการ เพื่อพัฒนาและสร้างวิธีในการสืบค้นสารสนเทศ เพื่อสร้างทักษะในการสืบค้นสารสนเทศ เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการสืบค้นสารสนเทศ และ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้บริการของผู้ให้บริการ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนาเฉพาะกลุ่ม แบบทดสอบ และแบบสอบถาม ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีแจงนับ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

1) การศึกษาแนวทางปรับปรุงการค้นหาสารสนเทศของผู้ใช้บริการ ผลของการศึกษา สรุปดังนี้

1.1) การปรับปรุงป้ายแนะนำการสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบ OPAC ของโปรแกรมVTLS โดยเปลี่ยนจากป้ายสามเหลี่ยมตั้ง มีข้อความ 13 หน้า ใช้อักษรขนาดเล็ก มาเป็นป้านกระดาษโปสเตอร์เพียงแผ่นเดียว ตัวอักษรใหญ่ขึ้น ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้พอใจกับป้ายแนะนำการสืบค้นสารสนเทศแบบใหม่นี้ เนื่องจาก เข้าใจง่าย, ใช้เวลาอ่านน้อยลง, ตัวอักษรใหญ่ขึ้น และน่าสนใจกว่าของเดิม

1.2) การจัดเรียงหนังสือบนชั้น มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ

1.2.1) จัดจ้างนักศึกษาช่วยจัดหนังสือ

1.2.2) จัดทำป้ายบอกแถวชั้นหนังสือ หมวด 000 และ 600

1.2.3) จัดทำป้ายแนะนำหมวดหมู่หนังสือ หมวด 000 และ 600

1.2.4) จัดทำบัตรแนะนำหมวดหมู่หนังสือตามสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจ การเงิน การตลาด และการบัญชี พบว่า ผู้ใช้พอใจมากที่หนังสือจัดขึ้นชั้นในเวลารวดเร็ว เป็นระเบียบ หาหนังสือง่ายขึ้น ส่วนบัตรแนะนำหมวดหมู่หนังสือตามสาขาวิชา ผู้ใช้ให้ความสนใจน้อยกว่าป้ายแนะนำหมวดหมู่หนังสือ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังเสนอให้มีการจัดทำทุกๆหมวดหมู่หนังสือ และทุกๆชั้น โดยมีสีป้ายต่างๆกันด้วย

2) พัฒนาระบบและสร้างวิธีในการสืบค้นสารสนเทศให้ประสิทธิภาพ ผลของการศึกษา การปรับปรุงคำค้นหัวเรื่อง ที่ผู้ใช้บริการใช้ในการค้นหาสารสนเทศนั้นผู้ให้บริการ คือ บรรณารักษ์วิเคราะห์สารสนเทศได้ทำการศึกษาจากการใช้แบบสอบถามการใช้คำค้นของผู้ใช้ จำนวน 100 คน แบ่งเป็นนักศึกษาภาคปกติ 80 คน นักศึกษาภาค กศ.พป. 15 คน และอาจารย์ 5 คน ใช้คำค้นมาเป็นแบบทดสอบ 100 คำค้น ผลที่ได้จากการทดสอบ พบว่า บรรณารักษ์สามารถนำคำค้นที่ได้จากแนวคิดของผู้ใช้นำมาปรับปรุงรายการคำค้นที่เป็นหัวเรื่อง ที่อยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างถูกต้อง และช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นสารสนเทศได้ง่ายขึ้น

3) การสร้างทักษะในการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการอบรมวิธีการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศระบบ OPAC ให้กับนักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ 1 จาก 4 คณะ ที่ยังไม่ได้ลงเรียนวิชาสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า จำนวน 626 คน นักศึกษาภาคปกติชั้นปีอื่นๆที่สมัครเข้าอบรม จำนวน 78 คน และอาจารย์ จากทุกคณะ 35 คน ผลที่ได้จากการประเมิน ผู้เข้ารับการอบรมมีความพอใจและเข้าใจเทคนิคในการสืบค้น สามารถนำไปใช้สืบค้นด้วยตนเองได้ และได้ดียิ่งขึ้น และอยากให้มีจัดอบรมสม่ำเสมอ

4) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อบริการการสืบค้นสารสนเทศใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ 100 คน เป็นนักศึกษาภาคปกติ 60 คน นักศึกษาภาค กศ.พป. 30 คน และอาจารย์ 10 คน พบว่า ผู้ใช้บริการทั้ง 3 กลุ่ม มีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อบริการการสืบค้นสารสนเทศ ทั้งจากการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศระบบ OPAC ป้ายแนะนำการสืบค้นสารสนเทศระบบ OPAC ป้ายบอกแถวชั้นหนังสือ ป้ายแนะนำหมวดหมู่หนังสือ บัตรแนะนำหมวดหมู่หนังสือตามสาขาวิชา การจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้นได้รวดเร็วทันความต้องการ

5) การสร้างจิตสำนึกของบุคลากรให้มีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ จากการอบรมผู้ให้บริการ ได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ทุกคนของสำนักวิทยบริการเพื่อปรับพฤติกรรมการให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีจิตบริการ หรือ Swrvice mind จำนวน 2 ครั้ง การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ได้ใช้แบบสอบถาม 100 ชุด พบว่า ผู้ให้บริการเกือบทั้งหมด มีการเปลี่ยนพฤติกรรม คือมีความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือผู้ใช้ มีน้ำเสียงที่เป็นมิตรมากขึ้น มีความเต็มใจในการให้คำแนะนำในการค้นหาสารสนเทศแก่ผู้ใช้ ยิ้มแย้มและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น แต่มีเจ้าหน้าที่บางคนยังมีการปรับพฤติกรรมน้อย ซึ่งผู้ใช้ได้เสนอไว้ในส่วนที่เป็นคำถามปรายเปิด ดังนี้ “ควรมีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่หมุนเวียนในการให้บริการ”