อาจารย์อำนวย  สอิ้งทอง

Statistics Statistics
11275
Online User Online2
Today Today3
Yesterday Yesterday5
ThisMonth This Month3
LastMonth Last Month205
ThisYear This Year1,307
LastYear Last Year2,009

รายวิชา การฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา     สาขาวิชาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์   

 

หมวดที่   ข้อมูลทั่วไป

. รหัสและชื่อรายวิชา

          รหัสวิชา     ๑๑๘๒๒๓๘           (ชื่อวิชาภาษาไทย)         ฝึกด้วยน้ำหนัก                                                                     (ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ)     Weight Training

. จำนวนหน่วยกิต

          ๒ หน่วยกิต (๑-๒-๓)

๓.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

          ๓.๑ หลักสูตร

              ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)

          ๓.๒ ประเภทของรายวิชา

              วิชาเอก (เลือก)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

          ๔.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

               อาจารย์อำนวย   สอิ้งทอง

          ๔.๒ อาจารย์ผู้สอน

               อาจารย์อำนวย   สอิ้งทอง

.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

          ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๘ นักศึกษาชั้นปีที่ ๓

.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)  (ถ้ามี)

          ไม่มี

.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)  (ถ้ามี)

          ไม่มี

. สถานที่เรียน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          วันที่  ๒๔  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘

หมวดที่  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

          ๑.๑. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักการและข้อกำหนดของการฝึกด้วยน้ำหนัก

          ๑.๒. ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติทักษะพื้นฐานการฝึกด้วยน้ำหนัก

          ๑.๓. ผู้เรียนสามารถสร้างโปรแกรมการฝึกสำหรับกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้

          ๑.๔. ผู้เรียนมีความสามารถในหลักการสอน เทคนิคและกระบวนการสอน และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

          วัตถุประสงค์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายวิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ซึ่งในปัจจุบันการออกกำลังกายด้วยเครื่องมือต่างๆ เป็นที่นิยมสำหรับบุคคลทั่วไป หรือสำหรับนักกีฬาในการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายให้มีความแข็งแรง  มีความอดทน และมีรูปร่างที่สวยงามมากยิ่งขึ้น การเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการสร้างเสริมนักศึกษาให้มีความรู้ และประสบการณ์ในการฝึกด้วยเครื่องมือต่างๆ เพื่อสามารถออกแบบการฝึกได้ต่อไป

 

หมวดที่  ลักษณะและการดำเนินการ

.  คำอธิบายรายวิชา

                   ทักษะพื้นฐานการฝึกด้วยน้ำหนัก  หลักของการฝึกด้วยน้ำหนักและข้อกำหนด        ในการออกกำลังกาย  การสร้างโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเฉพาะกลุ่มบุคคล การวางแผนการสอน  แบบและกลยุทธ์ การสอน การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน

.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย ๑๕ คาบต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย 

การฝึกปฏิบัติ ๓๐ คาบต่อภาคการศึกษา

การศึกษาด้วยตนเอง  

๔๕ คาบต่อภาคการศึกษา

 

.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

     -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

 

หมวดที่  การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

๑. คุณธรรม จริยธรรม   

          ๑.๑  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

              ๑.๑.๑ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต

               ๑.๑.๒ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

          ๑.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

              ๑.๒.๑ กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีคุณธรรม

จริยธรรม มีระเบียบวินัย เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น

              ๑.๒.๒ อาจารย์สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา

              ๑.๒.๓ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

          ๑.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

              ๑.๓.๑ ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม

              ๑.๓.๒ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

๒. ความรู้

          ๒.๑ ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

              ทฤษฏี หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกด้วยน้ำหนักและข้อกำหนดในการออกกำลังกาย  การวางแผนการสอน  แบบและกลยุทธ์   การสอน การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน        

          ๒.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

              ๒.๒.๑ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด โดยจัดให้มีการอภิปรายในรายวิชาที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์จากกรณีตัวอย่าง

              ๒.๒.๒ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้แก่ การฝึกปฏิบัติ การทดลอง การสัมภาษณ์หรือได้รับการอบรมจากผู้มีประสบการณ์ตรง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เป็นต้น

              ๒.๒.๓ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงานวิจัย เป็นต้น

              ๒.๒.๔ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

          ๒.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

              ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ

              ๒.๓.๑ การสอบปลายภาคเรียน

              ๒.๓.๒ ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

              ๒.๓.๓ ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน

. ทักษะทางปัญญา

          ๓.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

              นักศึกษาต้องสามารถการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า การทำงานของระบบกล้ามเนื้อในการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ และนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องในรายวิชาการฝึกด้วยน้ำหนักไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ แก้ปัญหาการพัฒนาผู้เรียน นักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกาย

          ๓.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

              ๓.๒.๑ กรณีศึกษาทางพลศึกษา

              ๓.๒.๒ การอภิปรายกลุ่ม

              ๓.๒.๓ ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

          ๓.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

              ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การอธิบายและสาธิตการฝึกด้วยน้ำหนัก เป็นต้น

. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          ๔.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

               นักศึกษามีความไวในการรับรู้ความรู้สึกของผู้เรียนพลศึกษา เอาใจใส่ในการรับฟัง และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมีความรับผิดชอบ มีการร่วมกันทำงานเป็นทีม

          ๔.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

              ๔.๒.๑ พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นกัลยาณมิตร

              ๔.๒.๒ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและการเรียนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาตนเองและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

              ๔.๒.๓ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

              ๔.๒.๔ มีภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานเป็นทีม เพื่อเอื้อต่อการแก้ปัญหากลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์

          ๔.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

              ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และประเมินจากแบบสำรวจ แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการทำงานและทักษะความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม

. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

          -

๖. กระบวนการจัดการเรียนรู้

          ๖.๑ ผลการเรียนรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

              นักศึกษามีความรู้ความสามารถในกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษาในรายวิชา  การฝึกด้วยน้ำหนักที่มีรูปแบบหลากหลาย อย่างสร้างสรรค์

          ๖.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

              ๖.๒.๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้แก่ การฝึกปฏิบัติ การทดลอง การสัมภาษณ์หรือได้รับการอบรมจากผู้มีประสบการณ์ตรง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เป็นต้น

              ๖.๒.๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

          ๖.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

              ๖.๓.๑ ประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้จากแบบทดสอบ ทฤษฎีโดยให้นักศึกษาได้ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา จากสถานการณ์จำลอง หรือกรณีตัวอย่างที่กำหนดขึ้นในแบบทดสอบ

              ๖.๓.๒ ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น            การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน งานวิจัย การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นต้น

๗. ทักษะปฏิบัติ

          ๗.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติ

               นักศึกษาที่ศึกษาหลักสูตรนี้ จะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติทักษะพื้นฐานการฝึกด้วยน้ำหนักและสามารถสร้างโปรแกรมการฝึกสำหรับกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้

          ๗.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนากาเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติ

              โดยเน้นที่ขั้นตอนการปฏิบัติทักษะของผู้เรียนตั้งแต่ การสังเกต  การสาธิต  การฝึกหัดและการปฏิบัติภายใต้การแนะนำของผู้สอน จนถึงการปฏิบัติอย่างเป็นอิสระ ดังนี้

              ๗.๒.๑ การสาธิต

              ๗.๒.๒ การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง

          ๗.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติ

              ประเมินจากแบบทดสอบทักษะ

 

หมวดที่  แผนการสอนและการประเมินผล

.  แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ชิ้นงาน/วิธีการประเมิน

ผู้สอน

๑. ปฐมนิเทศการเรียนการสอน และชี้แจงเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก

๒. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก

๑. แจกแนวการสอนให้นักศึกษาร่วมกันศึกษาและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน

๒. อาจารย์บรรยายเกี่ยวกับหลักการฝึกทั่วไป และวิธีการฝึกด้วยน้ำหนัก

๓. ศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวกับอุปกรณ์การฝึกด้วยน้ำหนัก

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๑. การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (ก่อนการเรียน Pretest)

 ๑.๑ ลุกนั่ง ๑ นาที

 ๑.๒ the zipper test

 ๑.๓ นั่งงอตัวไปข้างหน้า

 ๑.๔ ดันพื้นไม่จำกัดเวลา

 ๑.๕ แรงดึงขา (Leg lift)

 ๑.๖ แรงบีบมือ (Hand grip)

 ๑.๗ แรงดังหลัง (Back lift)

๒. การวัดส่วนประกอบของร่างกาย

 ๒.๑ ชั่งน้ำหนักตัว วัดส่วนสูง

 ๒.๒ ดัชนีมวลกาย (BMI)

 ๒.๓ การวัดส่วนรอบ (Girth)

 

๑. ผู้สอนบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกาย

๒. ทำการประเมินส่วนประกอบของร่างกาย

๓. ทำการอบอุ่นร่างกาย (warm-up)

๔. ให้นักศึกษาทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามรายการที่แสดงในใบบันทึกการทดสอบ

๕. ทำการคลายอุ่น (cool-down)

๖. อภิปราย ซักถาม

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

ทฤษฎีการฝึกเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อของ Delorme Watkins Program

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการฝึกของ Delorme Watkins Program

๒. ให้นักศึกษาทำการฝึกด้วยน้ำหนักตามทฤษฎีที่บรรยาย

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

ทฤษฎีการฝึกเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อของ Burger Program

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการฝึกของ Burger Program

๒. ให้นักศึกษาทำการฝึกด้วยน้ำหนักตามทฤษฎีที่บรรยาย

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

ทฤษฎีการฝึกเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อของ Pyramid Program

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการฝึกของ Pyramid Program

๒. ให้นักศึกษาทำการฝึกด้วยน้ำหนักตามทฤษฎีที่บรรยาย

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๖-๗

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยใช้ Free Weight

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยใช้ Free Weight

๒. ให้นักศึกษาทำการฝึกด้วยน้ำหนักเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยใช้ Free Weight

๓. ท่าทางการฝึกต่างๆ ที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนกลุ่มกล้ามเนื้อที่ ๑ และกลุ่มกล้ามเนื้อที่ ๒

๔. สรุปการเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยใช้ Free Weight

 

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

สอบกลางภาค

-

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

การฝึกแบบวงจร โดยใช้ Machine Weight 

๑. ผู้สอนอธิบายการฝึกแบบวงจร โดยใช้ Machine Weight 

๒. ให้ผู้เรียนทำการฝึกแบบวงจรโดยใช้ Machine Weight 

 

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๐

การฝึกแบบวงจร โดยใช้ Free Weight 

๑. ผู้สอนอธิบายการฝึกแบบวงจร โดยใช้ Free Weight 

๒. ให้ผู้เรียนทำการฝึกแบบวงจรโดยใช้ Free Weight 

 

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๑–๑๒

การป้องกันอุบัติเหตุ และ

การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการฝึกด้วยน้ำหนัก

๑. ผู้สอนอธิบาย และสาธิตการเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บ และการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บ

๒. นักศึกษาทดลองการป้องกันการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บ

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๓-๑๕

หลักการสอน เทคนิคและกระบวนการสอน

 

๑. ผู้สอนอธิบายหลักการสอน เทคนิคและกระบวนการสอน

๒. ผู้เรียนทำแผนการจัดการเรียนรู้  ฝึกการสอน

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๖

สอบปลายภาค

สอบปลายภาค

อ.อำนวย 

สอิ้งทอง

 

.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

 

การประเมิน

งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์

ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล

(๑)

สอบ

 

 

 

  

-  สอบกลางภาค

-

-

 

 

-  สอบปลายภาค

๑๖

๓๐

(๒)

การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดเทอม

๑๐

(๓)

การปฏิบัติทักษะการฝึกด้วยน้ำหนัก

ตลอดเทอม

๓๐

(๔)

งานเดี่ยว งานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย

ตลอดเทอม

๓๐

 

 

หมวดที่  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

.  เอกสารและตำราหลัก

          พิชิต   ภูติจันทร์. ๒๕๔๗. การฝึกด้วยน้ำหนักเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร. : โอ เอส พรินติ้ง เฮ้าส์.

          โสภณ  อรุณรัตน์ และ ชาญชัย  โพธิ์คลัง. ๒๕๔๖. การฝึกโดยใช้น้ำหนัก. กรุงเทพมหานคร : โอ เอส พรินติ้ง เฮ้าส์.

          อภิลักษณ์  เทียนทอง. ๒๕๕๓. การฝึกด้วยน้ำหนักเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร.

          Pearl. B. and Gary T. Morgan. 1986. Weight Training for Men and Women Getting Stronger. Shelter Publication. California. USA.

.  เอกสารและข้อมูลสำคัญ

          - การฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training)

.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ

          ไม่มี

หมวดที่  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

          การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

          -  การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

          -  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

          ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

          -  ผลการสอบของนักศึกษา

          -  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

.  การปรับปรุงการสอน

          หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

          -  วิเคราะห์สาเหตุของการเรียนการสอน

          -  ปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนหรือกระทำตามแนวการจัดการความรู้ (KM)

.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

          ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการปฏิบัติทักษะการฝึกด้วยน้ำหนัก และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

          -  ประธานสาขาวิชาฯ ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

          จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

          -  ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐาน

ผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔