อาจารย์อำนวย  สอิ้งทอง

Statistics Statistics
11274
Online User Online1
Today Today2
Yesterday Yesterday5
ThisMonth This Month2
LastMonth Last Month205
ThisYear This Year1,306
LastYear Last Year2,009

รายวิชา วอลเลย์บอล (Volleyball)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา           คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาพลศึกษา  

 

หมวดที่   ข้อมูลทั่วไป

. รหัสและชื่อรายวิชา

          รหัสวิชา     ๑๑๘๑๒๒๖ (ชื่อวิชาภาษาไทย)      วอลเลย์บอล

                                       (ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ)   Volleyball

. จำนวนหน่วยกิต

          ๒ หน่วยกิต (๑-๒-๓)

๓.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

          ๓.๑ หลักสูตร

                   ชื่อภาษาไทย     ครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพลศึกษา

                   ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Education in Physical  Education

          ๓.๒ ประเภทของรายวิชา

                   วิชาเอก บังคับ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

          ๔.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

               นายอำนวย   สอิ้งทอง

          ๔.๒ อาจารย์ผู้สอน

               นายอำนวย   สอิ้งทอง

.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

          ภาคการศึกษาที่  ๒/๒๕๕๘  ชั้นปีที่  ๒

.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)  (ถ้ามี)

          -

.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)  (ถ้ามี)

          -

. สถานที่เรียน

          อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          วันที่  ๒๔  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘

 

หมวดที่ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

๑.๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา  มารยาท  กติกาการแข่งขัน และ  การบำรุงรักษาอุปกรณ์  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  เกี่ยวกับวอลเลย์บอล   

๑.๒ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะพื้นฐาน และการเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ นำไปสู่การเล่นเป็นทีมในกีฬาวอลเลย์บอลได้

๑.๓ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย  การป้องกันการบาดเจ็บและหลักในการปฐมพยาบาลแก่ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

๑.๔ เพื่อให้ผู้เรียนรู้หลักการสอนและเทคนิคการสอนในกีฬาวอลเลย์บอล

.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

          -

หมวดที่  ลักษณะและการดำเนินการ

.  คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล  มารยาท  ความปลอดภัย          การบำรุงรักษาอุปกรณ์  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  เกี่ยวกับวอลเลย์บอล  ทักษะการทรงตัว   การเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ  การฝึกทักษะ  การเรียนรู้  วิธีเล่น  วิธีเล่นทีม  การแข่งขัน  กติกาการแข่งขัน  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย  การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา                   การปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บ  หลักการสอน  เทคนิคและกระบวนการสอนวอลเลย์บอล

.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  ๑๕ คาบต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย 

การฝึกปฏิบัติ ๓๐ คาบต่อภาคการศึกษา

การศึกษาด้วยตนเอง  

๔๕ คาบต่อสัปดาห์ 

.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็น

     รายบุคคล

     -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

 

หมวดที่  การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

.  คณธรรม จริยธรรม

          ๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

              ๑.๑.๑  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

              ๑.๑.๒  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

          ๑.๒  วิธีการสอน

              ๑.๒.๑  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง                  ๑.๒.๒  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง

          ๑.๓  วิธีการประเมินผล

              ๑.๓.๑  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และ   ตรงเวลา

              ๑.๓.๒  การแต่งกายเหมาะสม

              ๑.๓.๓  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย

๒.  ความรู้

          ๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ

              ๒.๑.๑ นักศึกษาต้องมีความรู้ประวัติ  ความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล กติกา มารยาท    ความปลอดภัย  การบำรุงรักษาอุปกรณ์  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล

              ๒.๑.๒ นักศึกษาต้องมีความรู้ทางด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย  การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และหลักการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บ 

              ๒.๑.๓ หลักการสอน  เทคนิคและกระบวนการสอนวอลเลย์บอล

          ๒.๒  วิธีการสอน

              บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยว การทำงานกลุ่ม และการนำเสนอรายงาน                   โดยนำมาสรุปและนำเสนอ

          ๒.๓  วิธีการประเมินผล

              ๒.๓.๑  ทดสอบย่อย  สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี

              ๒.๓.๒  นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

.  ทักษะทางปัญญา

              -

.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          ๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

              พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา

          ๔.๒ วิธีการสอน

              ๔.๒.๑  มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล  การนำตัวอย่างการใช้หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

              ๔.๒.๒  การนำเสนอรายงาน

          ๔.๓ วิธีการประเมินผล

              ๔.๓.๑  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด

              ๔.๓.๒  รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

              ๔.๓.๓  รายงานการศึกษาด้วยตนเอง

.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

              - 

๖. กระบวนการจัดการเรียนรู้

          ๖.๑ ผลการเรียนรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

              นักศึกษามีความรู้ความสามารถในกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา หลักการสอน เทคนิค และกระบวนการสอนวอลเลย์บอล

          ๖.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

              ให้นักศึกษาหาข้อมูลในการจัดทำแผนการสอน

          ๖.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

              วัดผลและประเมินผลจาการทำแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา

. ทักษะปฏิบัติ

          ๗.๑ ทักษะปฏิบัติที่ต้องพัฒนา

              ๗.๑.๑ นักศึกษามีความสามารถทักษะการเคลื่อนไหวในกีฬาวอลเลย์บอล

               ๗.๑.๒ นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติทักษะพื้นฐานในกีฬาวอลเลย์บอล เช่น การเล่นลูกสองมือล่าง การเล่นลูกสองมือบน การเสิร์ฟ การตบ การสกัดกั้น เป็นต้น

          ๗.๒  วิธีการสอน

              อธิบายและสาธิตการปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหว และทักษะพื้นฐานในกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้แบบฝึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          ๗.๓ วิธีการประเมิน

               ประเมินนักศึกษาโดยใช้แบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอล ดังนี้

              ๗.๓.๑ แบบประเมินทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (under)

              ๗.๓.๒ แบบประเมินทักษะการเล่นลูกสองมือบน (set)

              ๗.๓.๓ แบบประเมินทักษะการเสิร์ฟ (service) 

              ๗.๓.๔ แบบประเมินทักษะการตบบอล (spike)

              ๗.๓.๕ แบบประเมินทักษะการสกัดกั้น (block)

              ๗.๓.๖ ผลการแข่งขันในการเล่นทีม

 

หมวดที่  แผนการสอนและการประเมินผล

.  แผนการสอ

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ชิ้นงาน/วิธีการประเมิน

ผู้สอน

- ข้อตกลงในการเรียนการสอน

- ให้นักศึกษาอภิปรายกลุ่มในหัวข้อมารยาท  ความปลอดภัย  การบำรุงรักษาอุปกรณ์  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

- ให้นักศึกษาทำรายงานประวัติ และกติกา

๑. อธิบายตามแนวการสอนและสรุปข้อตกลงในการเรียน เช่น เวลามา  การแต่งกาย

เป็นต้น (แนวการสอน)

๒. ให้นักศึกษา อภิปรายกลุ่มในหัวข้อมารยาท  ความปลอดภัย การบำรุงรักษาอุปกรณ์  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

๓. ให้นักศึกษาทำรายงานประวัติและกติกา

อำนวย 

สอิ้งทอง

- ท่าเตรียมพร้อม  การเคลื่อนที่และการจับมือ

 

-  ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (Under hands)

๑. อธิบายและสาธิตทักษะของการจับมือ ท่าเตรียมพร้อมและ การเคลื่อนที่

๒. ให้นักศึกษาทำท่าเตรียมพร้อมและทำการเคลื่อนไหว ตามทิศทางที่ผู้สอนกำหนด

๓. อธิบายและสาธิตทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง(Under hands) แบบเดี่ยวและคู่ (แบบทดสอบการเล่นลูกสองมือล่าง)

๔. ให้นักศึกษาทำการฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง(Under hands) แบบเดี่ยวและคู่

๕. ทำการสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง(Under hands) แบบเดี่ยวและคู่

อำนวย 

สอิ้งทอง

-  ทักษะการเล่นลูกสองมือบน      (Set-up)

-  ทักษะการเสิร์ฟ (Service)

๑. อธิบายและสาธิตทักษะการเล่นลูกสองมือบน(Set-up) 

๒. ให้นักศึกษาทำการฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือบน (Set-up) แบบเดี่ยวและคู่

๓. อธิบายและสาธิตทักษะการเสิร์ฟ (Service) มือล่างและมือบน

๔. ให้นักศึกษาทำการฝึกทักษะการเสิร์ฟ (Service) มือล่างและมือบน

๕. ทำการสอบทักษะการเล่นลูกสองมือบน (Set-up) แบบเดี่ยวและคู่(แบบทดสอบการเล่นลูกสองมือบน)

๖. ทำการสอบทักษะการเสิร์ฟ (Service) (แบบทดสอบการการเสิร์ฟ)

อำนวย 

สอิ้งทอง

-  ทักษะการตบ (Spiking)

-  ทักษะการสกัดกั้น (Blocking)

-  การเล่นทีม

๑. อธิบายและสาธิตทักษะการตบ (Spiking) 

๒. ให้นักศึกษาฝึกทักษะการตบ (Spiking) (แบบทดสอบการตบ)

๓. อธิบายและสาธิตทักษะการสกัดกั้น (Blocking)

๔. ให้นักศึกษาฝึกทักษะการสกัดกั้น (Blocking) (แบบทดสอบการสกัดกั้น)

๕. แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ ให้เป็นฝ่ายตบและกลุ่มที่ ๒ ให้เป็นฝ่ายสกัดกั้น

๖. ให้นักศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ทีมและทำการแข่งขันกัน โดยผู้สอนจะอธิบายการเล่นประกอบการแข่งขัน

๗. ทำการทดสอบการตบบอล (spike)

๘. ทำการทดสอบการสกัดกั้น (Block)

อำนวย 

สอิ้งทอง

การเสริมสร้างสมรรถภาพ     ทางกาย

 

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย 

๒. ผู้สอนอธิบายและสาธิตการฝึกด้วยน้ำหนัก ด้วยเครื่องมือที่เป็น Weight Machine และ เครื่องมือที่เป็น Free Weight

๓. ให้นักศึกษาทำการฝึกด้วยน้ำหนัก และบันทึกน้ำหนักที่สามารถยกได้ ส่งตารางบันทึกน้ำหนัก

(ใบความรู้เรื่องการฝึกด้วยน้ำหนัก)

(ใบบันทึกการฝึกด้วยน้ำหนัก)

อำนวย 

สอิ้งทอง

การเสริมสร้างสมรรถภาพ     ทางกาย (ต่อ)

 

๑. ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

๒. ผู้สอนอธิบายและสาธิตการฝึกแบบ Circuit Weight Training และ Circuit  Training

๓. ให้นักศึกษาได้ทำการฝึกทั้งสองแบบ

๔. สั่งงานให้นักศึกษาจับกลุ่ม ๆ ละ ๓ คน ออกแบบการฝึก Circuit Weight Training และ Circuit  Training ส่งในคาบหน้า

อำนวย 

สอิ้งทอง

สอบกลางภาค

 

 

 

 

การป้องกันการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บ

๑. ให้นักศึกษาจับกลุ่มละ ๓ คน ให้ระดมความคิดเรื่องการบาดเจ็บ ที่เกิดจากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลนำเสนอหน้าชั้น

๒. ผู้สอนสรุปการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(ใบงานเรื่องการบาดเจ็บและวิธีการปฐมพยาบาลในกีฬาวอลเลย์บอล)

(นำเสนอความรูด้วยโปรแกรม power point)

อำนวย 

สอิ้งทอง

หลักการสอน  เทคนิคและกระบวนการสอนวอลเลย์บอล

๑. ผู้สอนอธิบายหลักการสอน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

๒. ให้นักศึกษาฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกการสอน

๓. สั่งงานให้นักศึกษาทำแผนการสอนมาส่งครั้งหน้าและหาแบบฝึกวอลเลย์บอลมาทำการสอนเพื่อน (ใบความรู้เรื่องการทำแผนการจัดการเรียนรู้ )

(นำเสนอความรูด้วยโปรแกรม power point)

อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๐

หลักการสอน  เทคนิคและกระบวนการสอนวอลเลย์บอล(ต่อ)

๑. ให้นักศึกษาทำการสอนเพื่อนร่วมชั้นทักษะที่เตรียมมาในแผนการสอนกีฬาวอลเลย์บอล (ใบประเมินการนำแบบฝึกวอลเลย์บอล)

อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๑

- กติกาการแข่งขัน

- การตัดสิน

๑. ผู้สอนอธิบายและสาธิตการทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน และสอดแทรก กฎ กติกา ต่าง ๆ ในการทำหน้าที่ดังกล่าว

๒. ให้นักศึกษาฝึกทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน

อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๒

- กติกาการแข่งขัน

- การตัดสิน

ให้นักศึกษาฝึกทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน

 

อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๓-๑๕

จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลภายในห้อง

๑. ให้นักศึกษาแบ่งทีม ๆ ละ ๗ – ๑๐ คน

๒. ตั้งชื่อทีมและจับสลากแบ่งสาย

๓. ทำการแข่งขัน ๒ ใน ๓ เซต  

อำนวย 

สอิ้งทอง

๑๖

สอบปลายภาค

นักศึกษาทำการสอบภาคทฤษฎี ๓๐  คะแนน (ข้อสอบ)

อำนวย 

สอิ้งทอง

 

 

.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

 

การประเมิน

งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์

ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล

(๑)

สอบ

 

 

 

  

-  สอบกลางภาค

-

-

 

 

-  สอบปลายภาค

๑๖

๓๐

(๒)

การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดเทอม

๑๐

(๓)

การทดสอบทักษะ

  • ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (เดี่ยว,คู่)
  • ทักษะการเล่นลูกสองมือบน (เดี่ยว,คู่)
  • ทักษะการเสิร์ฟ
  • ทักษะการตบ
  • ทักษะการสกัดกั้น

ตลอดเทอม

๔๐

(๔)

งานเดี่ยว งานกลุ่มและใบประเมินการฝึก

ตลอดเทอม

๑๐

(๕)

การแข่งขัน

๑๓ – ๑๕

๑๐

 

หมวดที่  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

.  เอกสารและตำราหลัก

          - วอลเลย์บอล รวมกฎ กติกาและพื้นฐานการเล่น

          - ประเสริฐ   โฮมวงศ์ .๒๕๔๐. วอลเลย์บอล. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

.  เอกสารและข้อมูลสำคัญ

          - วอลเลย์บอล (ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่พร้อมกติกาใหม่ล่าสุด)

.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ

          -

หมวดที่  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

 

.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

          - ให้นักศึกษาทำการประเมินการเรียนการสอน       

.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

          -  ประเมินตนเองในการสอนในภาพรวม

          -  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

.  การปรับปรุงการสอน

          หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการนำปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน

          -  การพิจารณาวิธีการสอน และแนวการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหามากยิ่งขึ้น

.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

          -  ประธานสาขาวิชาฯ ตรวจสอบข้อสอบและวิธีการประเมินผล

.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

          จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

          -  ปรับปรุงรายวิชาทุก ๑ ปี และจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยประธานโปรแกรมวิชาตรวจสอบข้อสอบและวิธีการประเมินผล